E-Sport  เกมที่เป็นมากกว่าเกม
E-Sport  เกมที่เป็นมากกว่าเกม

       กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Sport ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ถือว่าเป็นมิติใหม่ของวงการกีฬา ซึ่งเป็นกีฬาที่ไม่ต้องใช้แรงกาย แต่ใช้สมองเป็นส่วนสำคัญ โดยมีอุปกรณ์กีฬาคือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ และ ใช้สมองในการคิดวิเคราะห์ เพื่อนำปสู่ชัยชนะ สิ่งจำเป็นสำหรับกีฬาชนิดนี้ไม่แตกต่างไปจากการเล่นกีฬาอื่นๆ ตรงที่ ผู้เล่นต้องมีทักษะ การวางแผนการเล่น และฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ จึงจะนำไปสู่นักกีฬามืออาชีพที่สามารถคว้ารางวัลมาได้มากมาย

การสำรวจพฤติกรรมจุดเริ่มต้นของการเป็นนัก E-Sport สายอาชีพ

        สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเผยผลสำรวจข้อมูลพฤติกรรมผู้เล่นเกม ซึ่งเป็นการสำรวจด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า โดยใช้แบบสำรวจข้อมูลพฤติกรรมแบบมีโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายคือผู้เล่นเกมเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยคุณสมบัติกลุ่มเป้าหมายที่สำรวจคือ เป็นผู้ที่เล่นเกมโดยมีพฤติกรรมการเล่นเกมอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์และไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อสัปดาห์ ดังนี้

  • สถานที่เล่นเกม: ผู้เล่นเกมส่วนใหญ่จะเล่นที่ บ้านตัวเอง, บ้านเพื่อน และ ระหว่างการเดินทาง
  • จุดประสงค์หลักของการเล่นเกม: ส่วนใหญ่เล่นเพื่อความสนุกสนาน ฆ่าเวลา แก้เบื่อ และคลายความตึงเครียด
  • สำหรับการเล่นเกมผู้เล่นเกมมีค่าใช้จ่ายในเกมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 198 บาทต่อเดือน
  • เวลาที่ใช้ในการเล่นเกมโดยเฉลี่ย: เล่นกับผ่านมือถือที่ 12 ชม.ต่อสัปดาห์, ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ 13 ชม.ต่อสัปดาห์ และ ผ่านแท็บเล็ตและเครื่องเกม Handheld เท่ากันที่ 7 ชม.ต่อสัปดาห์
  • เกมยอดนิยมที่ผู้เล่นเกมส่วนใหญ่เล่น คือ ROV, Candy Crush, Pub-G เป็นต้น

ยุคที่ E-Sport ได้รับการยอมรับจนมาถึงในปัจจุบัน

       สำหรับ E-Sport ในไทย เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่ามีการยอมรับที่มากขึ้น คือ การประกาศราชกิจจานุเบกษาให้ E-Sport เป็นกีฬาอาชีพเมื่อ เดือนกันยายน 2564 หรือการที่ E-sport ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาการแข่งขัน SEA Game และ Asian Game ซึ่งไทยสามารถคว้าเหรียญทองในการแข่ง RoV : Arena of Valor ระดับโลก ในการแข่งขัน Arena of Valor Premier League (APL) 2022

E-Sport อาชีพ ความฝัน และ อุตสาหกรรม

      ปัจจุบันมีกีฬาได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ นั่นคือ E-Sport หลายคนคงรู้สึกว่าขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของกีฬาที่ต้องใช้พละกำลังเล่นกีฬาอย่างที่คุ้นเคยกัน และยังมีข้อถกเถียงว่า E-Sport จะนับเป็นกีฬาได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยก็คงปฏิเสธได้ยากว่า หากมีฝีมือการเล่นเกมที่เก่งจริง ก็สามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูตนเองได้ดีมากเลยทีเดียว 

      ทั้งนี้ ได้จัดอันดับจากเว็บไซต์ esportsearnings.com เกี่ยวกับรายได้ของผู้เล่น e-Sport โดยอันดับหนึ่ง คือ “Johan Sundstein” ชาวเดนมาร์ก ที่มีรายได้รวมจากเกมถึง 6,974,817.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 218 ล้านบาท หรือแม้แต่ผู้เล่นที่อยู่อันดับ 50 อย่าง “Vladimir Minenko” ชาวยูเครนก็มีรายได้รวมมากถึง 1,621,823.45 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 50 ล้านบาท

 สรุป       

ท้ายที่สุดนี้ คงเห็นแล้วว่า E-Sport นั้นถือเป็นอุตสาหกรรมใหม่อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเมืองได้จริง และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจเมืองมีการเติบโตย่อมส่งผลให้เกิดการพัฒนาเมืองตามมา อย่างไรก็สำหรับไทยควรจะมีการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนา E-Sport ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างทางเลือกอาชีพของเยาวชนมากขึ้น